คณาธิป ทองรวีวงศ์ www.thaiprivacylaw.com
ตาม พรบ ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ 2551 ได้วางหลัก การควบคุมเนื้อหาภาพยนตร์ในขั้นตอนการสร้าง (Production)
โดย
มีหลักกฎหมายเกี่ยวข้องคือ จะต้องยื่นขออนุญาตก่อน
--สำหรับ ภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นในประเทศไทย
ก็จะต้องยื่นคำขออนุญาต ต่อ คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ซึ่งถ้าอนุญาต
ก็จะออกหมายเลข ภย... ถ้าไม่อนุญาต ก็สามารถอุทธรณ์ต่อ
คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ--- สำหรับวีดิทัศน์ เกม คาราโอเกะ ที่สร้างขึ้นในประเทศไทย ก็จะต้องยื่นคำขออนุญาต ต่อ คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ซึ่งถ้าอนุญาต ก็จะออกหมายเลข วท.. ถ้าไม่อนุญาต ก็สามารถอุทธรณ์ต่อ คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ
พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์พ.ศ.
2551 นั้น นอกจากควบคุมการ สร้างภาพยนตร์ แล้ว ยังกำหนดหลักการควบคุมการ
เผยแพร่ ภาพยนตร์ ด้วย
โดยกำหนดหลักการควบคุมการเผยแพร่ภาพยนตร์โดยวิธีการ
ฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน จำหน่าย
สำหรับการเผยแพร่โดยวิธีการ
ฉายภาพยนตร์ นั้นกฎหมายนิยามคำว่า “ฉาย” ว่าหมายถึง “การนำภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์มากระทำให้ปรากฏภาพ
หรือภาพและเสียงด้วยเครื่องฉาย หรือเครื่องมืออื่นใด
และให้หมายความรวมถึงการถ่ายทอดด้วย[1]”
กฎหมายกำหนดหลักการไว้ว่า “ภาพยนตร์ที่จะนำออกฉาย
ให้เช่า แลกเปลี่ยน
หรือจำหน่ายในราชอาณาจักรต้องผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์”[2] หากมีการฝ่าฝืนจะมีโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท[3]
การตรวจพิจารณาภาพยนตร์
เป็นกระบวนการที่สำคัญของกฎหมายฉบับนี้ในการเผยแพร่ภาพยนตร์ กล่าวคือ
ภาพยนตร์จะต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ตามกฎหมายฉบับนี้ก่อนจึงเผยแพร่ได้
หน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจพิจารณาก็คือ สำนักพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ กระทรวงวัฒนธรรม
สำหรับเกณฑ์การตรวจพิจารณาภาพยนตร์นั้น
พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ประกาศกำหนดรายละเอียด[4] ซึ่งได้มีการประกาศหลักเกณฑ์ในส่วนที่เกี่ยวกับการตรวจพิจารณาภาพยนตร์โดยมีหลักเกณฑ์สำคัญคือ[5]
“ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า
สื่อโฆษณาที่ขออนุญาตไม่มีเนื้อหาเป็นการบ่อนทำลาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
หรือไม่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐและเกียรติภูมิของประเทศไทย
ให้คณะกรรมการอนุญาตให้นำสื่อโฆษณาดังกล่าวออกเผยแพร่ในราชอาณาจักร
ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า
สื่อโฆษณาใดมีเนื้อหาเป็นการบ่อนทำลาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
หรือไม่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐและเกียรติภูมิของประเทศไทย
ให้คณะกรรมการแจ้งให้ผู้ยื่นคำขออนุญาตดำเนินการแก้ไขหรือตัดทอนเนื้อหาดังกล่าวออก
ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขออนุญาตไม่ประสงค์จะแก้ไขหรือตัดทอน
ให้คณะกรรมการมีคำสั่งไม่อนุญาตให้นำสื่อโฆษณาดังกล่าวออกเผยแพร่ในราชอาณาจักร”[6]
นอกจากนี้ จากบทความก่อนที่ได้พูดคุยถึงกรณี
ควบคุมเนื้อหาภาพยนตร์ โดยวิธีการ “เรตติ้ง” ตาม พรบ ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ 2551 โดยกฎหมายกำหนดประเภทสำหรับการจัดเรตติ้งไว้
7 ประเภท นั้น
ที่น่าสนใจก็คือ ภาพยนตร์ประเภทที่ 7 ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักร
การจำกัดสิทธิรับสื่อของภาพยนตร์ประเภทนี้
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุของบุคคล กล่าวคือ ไม่ว่าอายุช่วงใดก็ถูกจำกัดทั้งสิ้น กล่าวคือ หากคณะกรรมการฯ เห็นว่า
ภาพยนตร์นั้นไม่ผ่านการพิจารณา ผลคือ ไม่สามารถเผยแพร่ในราชอาณาจักรได้ ดังนั้น ไม่ว่าบุคคลอายุเท่าใดก็ไม่อาจรับชมได้
สำหรับเกณฑ์การพิจารณา
ก็จะเห็นได้จากหลักกฎหมายข้างต้น
สรุป : การตรวจพิจารณาภาพยนตร์ ภายใต้ พรบ ภาพยนตร์ฯ 2551
หลัก - ภาพยนตร์ที่จะนำมาเผยแพร่ในประเทศไทย ต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการฯ ก่อน ดังนั้น คณะกรรมการฯ จะพิจารณาว่า ภาพยนตร์นั้น สามารถเผยแพร่ได้หรือไม่ ถ้าได้ ก็จะพิจารณาจัด rating อีกด้วยว่า เรื่องนั้นจะอยู่ใน rating ใด ก็คือ เหมาะกับผู้ชมกลุ่มใด
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มาตรา ๒๖ ภาพยนตร์ที่จะนำออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายในราชอาณาจักรต้องผ่านการตรวจพิจารณา และได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๖ ในการตรวจพิจารณาภาพยนตร์ตามมาตรา ๒๕ ให้คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์กำหนดด้วยว่าภาพยนตร์ดังกล่าวจัด อยู่ในภาพยนตร์ประเภทใด ดังต่อไปนี้ (๑) ภาพยนตร์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้และควรส่งเสริมให้มีการดู (๒) ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้ดูทั่วไป (๓) ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่สิบสามปีขึ้นไป (๔) ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่สิบห้าปีขึ้นไป (๕) ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่สิบแปดปีขึ้นไป (๖) ภาพยนตร์ที่ห้ามผู้มีอายุต่ำกว่ายี่สิบปีดู (๗) ภาพยนตร์ที่ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักร
ถาม แล้วคณะกรรมการจะใช้เกณฑ์ใดในการพิจารณา เนื้อหาอย่างไรจะผ่าน เนื้อหาอย่างไรจะไม่ผ่าน
ตอบ ตัว พรบ ไม่ได้กำหนดรายละเอียดไว้ หลักเกณฑ์สามารถดูได้จากกฎหมายอนุบัญญัติที่ออกตามความมาตรา 25
ซึ่งปัจจุบัน คือ ประกาศคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์การตรวจพิจารณาภาพยนตร์และสื่อโฆษณา พศ 2552 ซึ่ง เป็นประกาศที่ออกตามความมาตรา 25 วรรคสอง ของ พรบ ภาพยนตร์ฯ ดังกล่าว ในส่วนเกี่ยวกับการพิจารณา content หรือเนื้อหาของภาพยนตร์ สื่อโฆษณา นั้น มีหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น
Comment :
1.
กฎหมายหลัก
คือ พรบ ภาพยนตร์ มิได้กำหนดเกณฑ์การตรวจพิจารณาไว้ชัดเจน แต่ให้มีการออกกฎหมายลำดับรอง ซึ่งในส่วนนี้ก็คือ ประกาศคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ
เรื่องหลักเกณฑ์การตรวจพิจารณาภาพยนตร์และสื่อโฆษณา พ.ศ. 2552
2.
จากประกาศฯ
ดังกล่าว จะเห็นได้ว่า กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ค่อนข้างกว้าง จะเห็นว่า สื่อต่อไปนี้
คณะกรรมการจะไม่อนุญาตให้เผยแพร่
- เนื้อหาบ่อนทำลาย
ขัดความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน (Public order and good
moral)
- กระทบกระเทือนความมั่นคงของรัฐ
(National security)
ซึ่งกฎหมายก็ไม่ได้กำหนดนิยามลงไปอย่างชัดเจน
ยังคงเป็นดุลพินิจที่ค่อนข้างกว้าง
3.
ประกาศฯ ดังกล่าว แม้ว่าจะกำหนดเกณฑ์ว่า สื่อใดที่ต้องห้าม
เช่น ขัดต่อความสงบฯ
แต่เกณฑ์ดังกล่าวก็ยังมีความกว้าง และไม่ชัดเจนนัก
ขึ้นอยู่กับการตีความในแต่ละกรณี (Case by case) เช่น “ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน” กรณีนี้จะเห็นได้ว่า
โดยทั่วไปแล้ว สื่อลามก จะจัดอยู่ในสิ่งที่ขัดต่อความสงบฯ ส่วนประเด็นว่า แค่ไหนเป็นลามก ก็ต้องไปดูการตีความของศาลในคดีอาญาประกอบด้วย
ซึ่งได้เขียนไว้แล้วในอีกบทความหนึ่ง
อ้างอิง: คณาธิป ทองรวีวงศ์, กฎหมายการสื่อสารมวลชน , กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2555
[4]
มาตรา 25
วรรคสอง วางหลักว่า การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
[5]
ประกาศคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ
เรื่องหลักเกณฑ์การตรวจพิจารณาภาพยนตร์และสื่อโฆษณา พ.ศ. 2552
[6]
ประกาศคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ
เรื่องหลักเกณฑ์การตรวจพิจารณาภาพยนตร์และสื่อโฆษณา พ.ศ. 2552 ข้อ 14
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น