คณาธิป ทองรวีวงศ์ www.thaiprivacylaw.com
กฎหมายไทยที่เกี่ยวกับสื่อภาพยนตร์แต่เดิม คือพรบ.ภาพยนตร์ พศ 2473 ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานหลักการ เซ็นเซอร์ (Censorship) โดยให้อำนาจหน่วยงานของรัฐ (ขณะนั้นคือกรมตำรวจ) ในการตรวจพิจารณาสื่อภาพยนตร์ เกณฑ์การตรวจสอบก็มักจะเกี่ยวข้องกับ สื่อที่ภาครัฐมองว่าจะเป็นอันตรายต่อความมั่นคง สื่อลามก หรือที่อาจเป็นตัวอย่างไม่ดีแก่ประชาชนหรือเยาวชน จะเห็นได้ว่า ดุลพินิจการเซ็นเซอร์ค่อนข้างกว้าง
กฎหมายไทยที่เกี่ยวกับสื่อภาพยนตร์แต่เดิม คือพรบ.ภาพยนตร์ พศ 2473 ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานหลักการ เซ็นเซอร์ (Censorship) โดยให้อำนาจหน่วยงานของรัฐ (ขณะนั้นคือกรมตำรวจ) ในการตรวจพิจารณาสื่อภาพยนตร์ เกณฑ์การตรวจสอบก็มักจะเกี่ยวข้องกับ สื่อที่ภาครัฐมองว่าจะเป็นอันตรายต่อความมั่นคง สื่อลามก หรือที่อาจเป็นตัวอย่างไม่ดีแก่ประชาชนหรือเยาวชน จะเห็นได้ว่า ดุลพินิจการเซ็นเซอร์ค่อนข้างกว้าง
ต่อมา หลังจาก พรบ
ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ 2551 ประกาศใช้..การควบคุมสื่อในลักษณะของภาพยนตร์และวีดิทัศน์ก็เปลี่ยนไปจากการ
censor มาเป็น rating กล่าวคือ แทนที่จะห้ามหรือแบน จะเปลี่ยนเป็นระบบการจัดกลุ่ม
ว่า สื่อภาพยนตร์นั้นเหมาะสมกับผู้ชมกลุ่มใด
กล่าวได้ว่า เป็นการพยายามประสานระหว่าง
freedom of speech และ การคุ้มครองบุคคลบางจำพวก ที่กฎหมายเห็นว่าควรได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ผู้เยาว์
การจัดเรตติ้งตามกฎหมายนี้
แบ่งออกเป็น 7 ประเภท
1.ภาพยนตร์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้และควรส่งเสริมให้มีการดู2.ภาพยนตร์ที่เหมาะสำหรับผู้ดูทั่วไป
3.ภาพยนตร์ที่เหมาะสมสำหรับผู้ชมอายุ 13 ปีขึ้นไป
4.ภาพยนตร์ที่เหมาะสมสำหรับผู้ชมอายุ 15 ปีขึ้นไป
5.ภาพยนตร์ที่เหมาะสมสำหรับผู้ชมอายุ 18 ปีขึ้นไป
6.ภาพยนตร์ที่ห้ามผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ดู
7.ภาพยนตร์ที่ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักร
องค์กร ที่มีอำนาจตามกฎหมายนี้คือ
คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ ซึ่งในส่วนเกี่ยวกับการจัด เรตติ้ง ก็จะมี คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์
เป็นผู้จัด เรตติ้งภาพยนตร์ต่างๆ ในการนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็คือ
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เป็๋นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เลขานุการ
คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
ก็จะมี หน่วยงานคือ สำนักพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ สำนักฯนี้ก็จะดูแลเกี่ยวกับการประกอบกิจการ
ร้านเกม ร้านคาราโอเกะ ซึ่งอยู่ภายใต้ พรบ ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ 2551 ด้วย
สำหรับในกรณีการตรวจพิจารณาภาพยนตร์ คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ดังกล่าว ก็จะดำเนินการ ตรวจภายใต้ระบบ เรตติ้ง
ก็คือ พิจารณาว่า ภาพยนตร์นั้น
จะจัดอยู่ในประเภทใดใน 7 ประเภทข้างต้น
จะเห็นได้ว่า โดยหลักแล้ว
การพิจารณาเพื่อจัดเรตติ้ง ไม่ใช่ การตรวจเพื่อ
แก้ไขเปลี่ยนแปลง เนื้อหา ดังเช่นในระบบ เซ็นเซอร์แบบเดิม
เนื่องจากแนวคิดพื้นฐานของสองระบบนี้ก็แตกต่างกัน กล่าวคือ ระบบเซ็นเซอร์แบบเดิมวางอยู่บนพื้นฐานของความไม่ไว้วางใจ ไม่เชื่อใจ ไม่เชื่อมั่น
ในวิจารณญาณของผู้ชม รัฐจึงเข้ามาทำหน้าที่บทบาทในฐานะ
ผู้ตรวจสอบ เลือกว่า สื่อใด ควรได้รับชม
เนื้อหาใดควรได้รับชม แค่ไหน เพียงใด
แต่ในระบบเรตติ้งนั้น
รัฐจะเป็นผู้กลั่นกรองและจัดประเภท ว่า เนื้อหานี้ควรเหมาะแก่กลุ่มผู้ชมประเภทใด โดยหลักแล้วระบบนี้เหมือนเป็นการช่วยให้ข้อมูลและทางเลือก
เพื่อช่วยผู้บริโภคสื่อให้ตัดสินใจได้ว่า สื่อนั้น
เหมาะกับกลุ่มบุคคลประเภทไหน
หากดูจากการจัดกลุ่มแล้วก็ยังสะท้อนหลักการคุ้มครองบุคคลบนพื้นฐานของอายุ จะเห็นได้ว่า ระบบเรตติ้งก็ยังสะท้อนแนวคิดการไม่เชื่อใจผู้รับสื่ออยู่ แต่เป็นการไม่เชื่อใจ ด้วยความเป็นห่วงสำหรับบุคคลบางประเภทที่กฎหมายเห็นว่าอาจยังไม่สามารถตัดสินใจเองได้อย่างเหมาะสม
ซึ่งก็คือเด็กและเยาวชนนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ปัญหาการตรวจพิจารณาและการจำกัดสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในกรณีภาพยนตร์ตาม พรบนี้ ยังคงมีอีกหลายประการดังจะได้เขียนในบทความต่อๆไป
(อ้างอิง หนังสือ กฎหมายเกี่ยวกับการสื่อสารมวลชน โดย คณาธิป ทองรวีวงศ์ สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2555 )
Harrah's Cherokee Casino & Hotel - Jackson County Chamber
ตอบลบHarrah's Cherokee Casino & Hotel. 777 의왕 출장마사지 Casino 익산 출장마사지 Parkway, Jackson 경기도 출장안마 County, North Carolina 진주 출장샵 28906. 안동 출장마사지 (857) 539-9979