การควบคุมสื่อภาพยนตร์ ตาม พรบ
ภาพยนตร์ :
กรณี “
ลามกอนาจาร”
by คณาธิป ทองรวีวงศ์ www.thaiprivacylaw.com
การตรวจพิจารณาสื่อภาพยนตร์และวีดิทัศน์
ตาม พรบ ภาพยนตร์ จากที่เคยกล่าวมาในบทความก่อนหน้าแล้วนั้น
มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
1.
กฎหมายหลัก คือ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์
พ.ศ. 2551
2.
กฎกระทรวง กำหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์พ.ศ. 2552
ลงวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552
3.
ประกาศคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ
เรื่องหลักเกณฑ์การตรวจพิจารณาภาพยนตร์และสื่อโฆษณา พศ
2552)
จะได้อธิบายกฎหมายดังกล่าว ในส่วนของ เนื้อหาข้อมูลที่เป็น “
ลามกอนาจาร”
ต่อไปนี้
สำหรับ กฎกระทรวง กำหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์พ.ศ. 2552
ลงวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งเรียกง่ายๆว่า กฎกระทรวงในการจัด rating ภาพยนตร์
ตามช่วงอายุผู้ชม นั้น ได้มีการวางเกณฑ์ของภาพยนตร์สำหรับแต่ละกลุ่มอายุ โดยมีลักษณะของสื่อลามกอนาจาร
อยู่ในเกณฑ์การพิจารณาด้วย เช่น
ข้อ 3
ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่สิบสามปีขึ้นไป ต้องไม่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
.....เนื้อหาที่แสดงพฤติกรรมทางเพศที่ส่อไปในทางลามกอนาจาร
ข้อ 4
ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่สิบห้าปีขึ้นไป ต้องไม่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
....... (2) เนื้อหาที่แสดงพฤติกรรมทางเพศที่ส่อไปในทางลามกอนาจาร
ข้อ 5
ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่สิบแปดปีขึ้นไป ต้องไม่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
....เนื้อหาที่แสดงการมีเพศสัมพันธ์ที่เห็นอวัยวะเพศ
จะสังเกตว่า กลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไป สื่อที่ต้องห้ามจะไม่ใช้คำ ลามกอนาจาร แต่จะใช้คำชัดเจนลงไปว่า
เป็นการแสดงการมีเพศสัมพันธ์ และต้องเป็นกรณีที่เห็นอวัยวะเพศด้วย
สำหรับลามกอนาจารนั้น พรบ
นี้มิได้นิยามความหมายไว้ ก็ต้องไปพิจารณาประมวลกฎหมายอาญา
ซึ่งก็ไม่ได้นิยามความหมายไว้อีก
แต่มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ตัดสินตามประมวลกฎหมายอาญาโดยเฉพาะการเผยแพร่สิ่งลามก
มาตรา 287 ได้วางหลักของ ลามกอนาจารไว้
ดังจะยกมาให้เห็นเป็นตัวอย่างดังจะกล่าวต่อไป
สำหรับหลักการ ตรวจพิจารณาภาพยนตร์ ตาม ประกาศคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ
เรื่องหลักเกณฑ์การตรวจพิจารณาภาพยนตร์และสื่อโฆษณา พศ
2552 นั้นได้มีการ วางเกณฑ์การพิจารณาเนื้อหาภาพยนตร์ว่า เนื้ออหาอย่างไรจะไม่อนุญาต
สำหรับใน ส่วนที่เกี่ยวกับ
ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ที่เกิดขึ้นโดยมากมักจะเป็นกรณีภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์
ทางเพศ ซึ่งในการนี้ กฎหมายเกี่่ยวกับภาพยนตร์ ไม่ได้กำหนดแนวทางการตีความไว้
ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการ ซึ่ง โดยทั่วไปแล้ว
คณะกรรมการก็จะพิจารณาจากกฎหมายอื่นในระบบของกฎหหมายไทยที่มีการตีความคำว่า สื่อลามกอนาจาร
โดยเฉพาะ ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีความผิดเกี่ยวกับการเผยแพร่วัตถุลามก
(ปอ 287)
จากหลักกฎหมายดังกล่าว
จะเห็นได้ว่า
สื่อภาพยนตร์ที่มีปัญหาในการตีความคือ “ลามกอนาจาร”
ทั้งในกรณีที่กฎหมายระบุคำว่า ลามกอนาจาร
ไว้โดยตรง และกรณีการตีความสื่อลามก ว่าอยู่ในความหมายของสื่อภาพยนตร์ที่ขัดต่อ “ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี” ด้วย
สำหรับ คำอธิบายและการตีความ สื่อลามกอนาจาร นั้น
กฎหมายฉบับหลักคือ พรบ ภาพยนตร์ นี้มิได้นิยามความหมายไว้
ก็ต้องไปพิจารณาประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งก็ไม่ได้นิยามความหมายไว้อีก แต่มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ตัดสินตามประมวลกฎหมายอาญาโดยเฉพาะการเผยแพร่สิ่งลามก
มาตรา 287 ได้วางหลักของ ลามกอนาจารไว้
ดังจะยกมาให้เห็นเป็นตัวอย่างดังจะกล่าวต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2136/2531
สำหรับ ข้อที่จำเลยฎีกาขอให้ศาลรอการลงโทษนั้นเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีภาพสีลามกร่วมเพศ
กับหนังสือภาพลามกร่วมเพศไว้ในความครอบครองเพื่อประโยชน์ในทาง การค้านับว่าเป็นภัยต่อสังคมอย่างหนึ่งโดยเฉพาะบรรดาเยาวชน
ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจเปลี่ยนโทษจำคุก 1 เดือนเป็นกักขังนับว่าเป็นคุณแก่จำเลยอยู่แล้ว
ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
Comment : คดีนี้สื่อลามก เป็น
ภาพสื่อสิ่งพิมพ์ (Print media)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7416/2537
การที่จำเลยมีไว้ซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์อันลามกในการประกอบธุรกิจให้เช่า
แลกเปลี่ยนและจำหน่ายซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ดังกล่าว อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 287 ย่อมเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์พ.ศ.
2530 มาตรา 6,34 อยู่ในตัว
มิใช่ความผิดที่เป็นการกระทำหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ขณะกระทำผิดจำเลยอายุ 19
ปีเศษ เป็นชาวต่างจังหวัดเข้ามาทำงานเป็นลูกจ้างในกรุงเทพมหานครและเรียนหนังสือ
เป็นนักศึกษานอกโรงเรียนสามัญ ย่อมมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีจึงยังไม่มีเหตุอันควรที่จะลดมาตราส่วนโทษให้
แต่จำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนมีเหตุอันควรที่จะรอการลงโทษ เพื่อให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดีจะได้ศึกษาเล่าเรียนต่อไป
โดยต้องวางโทษปรับจำเลยอีกสถานหนึ่งด้วยเพื่อให้หลาบจำ
Comment : คดีนี้เกี่ยวข้องกับสื่อวีดิทัศน์ที่ลามก
แต่เป็นคดีเกิดก่อน พรบ ภาพยนตร์ฯ 2551 จะสังเกตว่า ศาลพิจารณา ลามก ตามกฎหมายอาญา 287
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6301/2533
ภาพ พิมพ์ของกลางเป็นภาพหญิงสาวซึ่งมีบางภาพเปิดเผยเต้านมอย่างโจ่งแจ้ง
ส่วนที่อวัยวะเพศแม้จะมีผ้าอาภรณ์ปกปิดไว้ แต่ก็ปกปิดไว้อย่างหมิ่นเหม่ ซึ่งนอกจากจะอยู่ในอิริยาบทที่ไม่เรียบร้อยไม่น่าดูแล้ว
ยังอยู่ในอิริยาบทที่น่าเกลียดน่าบัดสีอีกด้วยกล่าวคือ มีบางภาพอยู่ในอิริยาบทนอนก็นอนหงายถ่างขาออกอย่างกว้างทำนองเจตนาเพื่ออวด
อวัยวะเพศอย่างเด่นชัด ส่วนภาพที่อยู่ในอิริยาบทนั่งก็นั่งถ่างขาออกแม้จะมีผ้าปกปิดอวัยวะเพศก็
เป็นผ้าบางใส ซึ่งแสดงว่าต้องการอวดอวัยวะเพศเช่นเดียวกับภาพในอิริยาบทนอนดังกล่าว
จึงเป็นภาพที่มีเจตนายั่วยุให้บังเกิดความใคร่ทางกามารมณ์โดยตรง ถือเป็นภาพลามกตามความหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 287(1). การบังคับค่าปรับเอาแก่นิติบุคคลนั้น
จะกักขังแทนค่าปรับไม่ได้
Comment : แม้มีเสื้อผ้าหรือสิ่งปกปิดอวัยวะเพศ แต่หากปิดไว้อย่าง “หมิ่นเหม่” ศาลก็ถือว่าเป็นลามก ปัญหาว่า อย่างไร “หมิ่นเหม่” ก็ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง case by
case
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2128/2533
ฟิล์มภาพยนตร์ของกลางที่เจ้าพนักงานยึดได้จากห้องฉายภาพยนตร์
อันเป็นฟิล์มภาพยนตร์ที่แสดงออกถึงความสัมพันธ์ทางเพศตามที่ปรากฏในรายงาน การตรวจพิสูจน์เอกสารหมาย
จ.10 นั้นเป็นหลักฐานยืนยันให้เห็นเป็นการแน่นอนอีกชั้นหนึ่ง
จึงเชื่อได้โดยปราศจากสงสัยว่าภาพยนตร์ที่จำเลยทั้งสามร่วมกันมีและนำออกฉาย นั้น
เป็นภาพยนตร์ลามกอนาจาร
Comment: เนื้อหาแสดงถึงความสัมพันธ์ทางเพศ เป็นแนวทางที่ศาลพิจารณาว่า ลามก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2546
จำเลยทำให้เผยแพร่โดยการมีไว้เพื่อจำหน่าย
เสนอจำหน่ายแผ่นวิดีโอซีดี ซึ่งบันทึกภาพและเสียงอันลามกโดยปรากฏภาพการร่วมเพศระหว่างชายหญิงจำนวน
56 แผ่น ศาล ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่า
จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287
และมีคำพิพากษาเกี่ยวกับของกลางว่า ของกลางให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ ส่วนสิ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดให้ริบนั้น
ไม่ชัดเจนว่าของกลางใดที่ให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ ส่วนแผ่นซีดีภาพยนตร์ลามกเป็นทรัพย์สินที่จำเลยมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดอันควรริบ
ไม่ใช่สิ่งที่ใช้ในการกระทำความผิดแต่อย่างใด จึงสมควรแก้ไขให้ถูกต้องด้วย ดังนั้น
ศาลฎีกาพิพากษาแก้เฉพาะส่วนซีดีภาพยนตร์ลามก 56 แผ่น
อันเป็นทรัพย์สินที่จำเลยมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา
33(1) นั้น ให้ริบ
Comment : คำพิพากษานี้
ตัดสินว่า ภาพ+เสียง การร่วมเพศ คือการลามก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2540/2551
จำเลยทั้งสองร่วมกันมีแถบบันทึกภาพลามก
แผ่นซีดีบันทึกภาพลามก หนังสืออันเป็นสิ่งพิมพ์ลามกที่มีภาพชายหญิงเปลือยกายอวดอวัยวะเพศ
แสดงการร่วมประเวณี
ตลอดจนบรรยายข้อความเป็นเรื่องราวการร่วมเพศระหว่างชายหญิงในลักษณะอันลามก
ไว้ในครอบครองเพื่อประสงค์แห่งการค้า
Comment :
คำพิพากษานี้ เปลือยกาย แม้ไม่ได้ร่วมเพศ
ก็ถือว่าลามก
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
Comment :
1. จะเห็นได้ว่า แม้ ตาม พรบ ภาพยนตร์ฯ
มิได้กำหนดว่าให้พิจารณาตามเกณฑ์ของกฎหมายอาญาก็ตาม แต่คณะกรรมการฯ ก็สามารถนำแนวคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว
เป็นแนวทางการตรวจพิจารณาภาพยนตร์ได้ แต่ข้อสังเกตก็คือ
บางกรณีคณะกรรมการฯ ก็อาจใช้ดุลพินิจแตกต่างจากแนวฎีกาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณี “
ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี”
นั้นอาจเป็นกรณีสื่อลามก ก็ได้ อาจไม่ถึงขั้นเป็น สื่อลามก
ตามแนวฎีกาก็ได้ จึงยังเป็นจุดที่กว้างและยังไม่มีเกณฑ์ที่ชัดเจนตามกฎหมาย
2. มีประเด็นน่าคิดว่า จำเป็นหรือไม่ ที่ พรบ ภาพยนตร์ ต้องวางเกณฑ์ในการควบคุมสื่อภาพยนตร์ สำหรับกรณี สื่อลามกอนาจาร กฎหมายอาจอยู่บนพื้นฐานแนวคิดว่า เนื้อหาสื่อลามก อาจไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอาจส่งผลกระทบต่อบุคคลบางจำพวกที่กฎหมายเห็นว่าอาจยังไม่มีวุฒิภาวะหรือวัยวุฒิที่เหมาะสม เช่น เด็กและเยาวชน แต่หากสื่อภาพยนตร์นั้นมีลักษณะลามก ก็มีกฎหมายอื่นที่สามารถนำมาปรับใช้อยู่แล้ว เช่น ประมวลกฎหมายอาญา 287 หรือหากเป็นกรณีการเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ ก็มีพรบ การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 เป็นต้น ซึ่งกฎหมายเหล่านี้มีมาตรการและบทลงโทษที่ชัดเจนอยู่แล้่ว นอกจากนี้ยังมีเกณฑ์การวินิจฉัย "ลามก" ตามแนวฎีกาอยู่แล้วด้วย จึงเป็นข้อวิจารณ์ได้ว่า พรบฯภาพยนตร์อาจไม่มีความจำเป็นต้องเข้ามาตรวจสอบสื่อลามกในขั้นตอนนี้ เนื่องจากมีมาตรการกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งวางเกณฑ์ค่อนข้างชัดเจนครอบคลุมสื่อลามกอยู่แล้ว
******แหล่งอ้างอิง *******
คณาธิป ทองรวีวงศ์,
ศึกษาเปรียบเทียบพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ ศ 2550
กับ กฎหมายอาญาฐานหมิ่นประมาท
ในกรณีการหมิ่นประมาททางอินเทอร์เน็ต บทบัณฑิตย์ เล่มที่ 65
ตอน
2
มิถุนายน 2552
หน้า 31-69
คณาธิป ทองรวีวงศ์,
กฎหมายเกี่ยวกับการสื่อสารมวลชน,
กรุงเทพ:สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2555